มะยม

มะยม

ชื่อพื้นเมือง     : มะยม, หมักยม, หมากยม, ยม
ชื่อสามัญ        : Star Gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์          : Euphorbiaceae
ด้านนิเวศวิทยา
เชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองของมาดากัสการ์ ปัจจุบันปลูกทั่วไปในประเทศเขตร้อน เติบโตได้ดีทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นสีขาวตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะและหักง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ ใบรวมใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว หรือใบย่อยออกเรียงกันเป็นคู่ๆ แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบย่อยรูปหอก หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ริมขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.
ดอก สีแดงออกเป็นช่อและออกตามกิ่งแก่ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ
ผล ผลรูปร่างกลมแบนหรือเป็นเฟืองมนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่ง ผลมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง ผลรสออกหวานหรือเปรี้ยว ผลหลุดจากขั้วง่าย เมล็ดเดี่ยวขนาดเล็กเปลือกแข็งหรือรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน
ด้านสรรพคุณ

  • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
  • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ช้อนเงินช้อนทอง

ไทรเกาหลี

เข็มพิกุล